Category Archives: จิตวิทยา

ENNEAGRAM แผนภาพรูปวงกลมที่อธิบายถึงจิตใจของมนุษย์

ENNEAGRAM คือ แผนภาพรูปวงกลมที่อธิบายถึงจิตใจของมนุษย์

คำว่า ENNEAGRAM เป็นภาษากรีก แปลว่า แผนภาพเลขเก้า เนื่องจากตามหลักของ ENNEAGRAM จิตใจของมนุษย์แบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ได้เป็นเก้าประเภท (ไทป์) แต่ละประเภทแทนด้วยจุดเก้าจุด ที่เรียงอยู่บนเส้นรอบวงของวงกลมด้วยระยะห่างที่เท่า ๆกัน ได้แก่

1. ไทป์หนึ่ง – นักปฏิรูป
2. ไทป์สอง – นักบุญ
3. ไทป์สาม – ผู้ชนะ
4. ไทป์สี่ – ศิลปิน
5. ไทป์ห้า – นักปราชญ์
6. ไทป์หก – เพื่อนยาก
7. ไทป์เจ็ด – เจ้าสำราญ
8. ไทป์แปด – ผู้นำ
9. ไทป์เก้า – ผู้รักสงบ

บุคลิกภาพของมนุษย์ทุกคน จะอธิบายได้ด้วยไทป์ใด ไทป์หนึ่ง ในเก้าไทป์นี้ ซึ่งเป็นลักษณะที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และอาจพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น หรือต่ำลงก็ได้เมื่อโตขึ้น แต่จะไม่มีวันเปลี่ยนไปจากไทป์ที่ตัวเองเป็นไปได้

จุดศูนย์กลางสามแห่ง


ความแตกต่างของแต่ละไทป์มาจากการที่บุคลิกภาพของคนเรามีจุดสนใจอยู่สามแห่ง ได้แก่ ความรู้สึก ความคิด และสัญชาตญาณ แต่ละไทป์จะมีจุดสนใจอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง และปัญหาที่เกิดขึ้นกับจุดสนใจนั้นจะแตกต่างกัน ทุกคนจะดีจะร้ายก็ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับจุดสนใจนั้น ๆของตัวเอง

ไทป์ของความรู้สึก ไทป์ของความคิด ไทป์ของสัญชาตญาณ
(ภาพพจน์) (ความกลัว) (ความโกรธ)
หัวใจ สมอง ท้อง

อิทธิพลของไทป์รอบข้าง


อย่างไรก็ตาม บุคลิกภาพของคนส่วนมาก มักไม่สามารถอธิบายได้ด้วยไทป์ของเขาเพียงไทป์เดียว ทุกคนล้วนได้รับอิทธิพลจากไทป์ที่อยู่ถัดไปในวงกลมทั้งสิ้น คนที่ได้รับอิทธิพลจากไทป์ข้างเคียงน้อย จะมีลักษณะของไทป์หลักอย่างชัดเจน ส่วนคนที่ได้รับอิทธิพลจากไทป์ข้างเคียงมาก ก็จะดูคล้ายไทป์ข้างเคียงได้บ้างในบางเรื่อง แต่ก็ยังคงลักษณะส่วนมากเป็นของไทป์หลักอยู่ เปรียบเสมือนว่า บุคลิกภาพของคน ๆหนึ่ง ก็คือจุด ๆหนึ่งบนแผนภาพวงกลม ถ้าจุด ๆนั้นอยู่ใกล้กับไทป์หลักมาก ก็จะมีบุคลิกของไทป์หลักอย่างชัดเจน แต่หากอยู่ไกลก็จะแสดงบุคลิกภาพของไทป์ถัดไปออกมาด้วยมาก

ตัวอย่างเช่น ไทป์ห้า อาจมีลักษณะของ ไทป์สี่ ปน หรือไม่ก็มีลักษณะของ ไทป์หก ปน เพราะทั้งไทป์สี่และไทป์หกเป็นไทป์ที่อยู่ข้างเคียงไทป์ห้า แต่จะไม่มีใครในโลกนี้ที่เป็น ไทป์ห้า แต่มีลักษณะของ ไทป์แปด (หรือไทป์อะไรก็ตามที่ไม่อยู่ชิดกับไทป์ห้า) ปนเป็นอันขาด

 

 

พัตนาการ


ไทป์สาม ไทป์หก และไทป์เก้า มีความเกี่ยวข้องกันในแง่ของพัฒนาการทางจิตใจ เมื่อรู้สึกมั่นคงไทป์ทั้งสามจะส่งอิทธิพลต่อกันตามลูกศรข้างล่าง เช่น เมื่อไทป์สามมั่นคงจะแสดงบุคลิกภาพบางอย่างของไทป์หกให้เห็น เมื่อไทป์หกมี่นคงแสดงบุคลิกภาพบางอย่างของไทป์เก้าให้เห็น เป็นต้นทำนองเดียวกัน ไทป์ที่เหลือ ได้แก่ ไทป์หนึ่ง ไทป์สอง ไทป์สี่ ไทป์ห้า ไทป์เจ็ด และไทป์แปด จะมีอิทธิพลต่อกันในทิศทางตามลูกศร

 

และเมื่อรู้สึกกดดันลุกศรจะกลับทิศทาง

อิทธิพลของลูกศรช่วยทำให้เราค้นหาไทป์ของตัวเองได้แม่นยำขึ้น ด้วยการอาศัยการสังเกตบุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปเมื่อรู้สึกมั่นคง หรือเมื่อรู้สึกกดดัน

 

ระดับจิตใจ


มีคนบนโลกนี้นับล้าน ๆที่มีไทป์เดียวกับคุณ ภายในไทป์เดียวกัน มีทั้งคนดี และไม่ดีปะปนกัน ทุก ไทป์สามารถแบ่งระดับจิตใจออกได้เป็นสามระดับใหญ่เก้าระดับย่อย
ระดับดี ระดับปานกลาง ระดับเสื่อม
ระดับหนึ่ง ระดับสี่ ระดับเจ็ด
ระดับสอง ระดับห้า ระดับแปด
ระดับสาม ระดับหก ระดับเก้า
ประชากรส่วนมากอยู่ในระดับปานกลาง มีคนส่วนน้อยที่อยู่ในระดับดีและระดับเสื่อม คนที่อยู่ในระดับเสื่อม (ตั้งแต่ระดับหกลงไป) จัดว่ามีปัญหาทางจิตที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา คนทั่วไปที่อยู่ในระดับปานกลางต่างก็มีปัญหาด้วยกันทั้งสิ้น แต่ยังไม่ถือว่าเป็นโรคจิต
อิทธิพลของลูกศรในทางดีจะแสดงออกมาเมื่อเราอยู่ในระดับหนึ่งถือสาม เมื่อเข้าสู่ระดับดีจึงมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ระดับสี่เป็นระดับสมดุล ส่วนตั้งแต่ระดับห้าลงไปจะมีอิทธิพลของลูกศรในทางไม่ดี และมีแนวโน้มที่จะเสื่อมลงได้ง่าย

บทส่งท้าย


ENNEAGRAM สามารถอธิบายได้ว่าทำไมเราจึงมีพฤติกรรมอย่างที่เรามี เป็นเสมือนเครื่องมือที่จะชี้นำเราไปในทิศทางที่ถูกที่ควร และเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเสริมความรักความเข้าใจระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
เมื่อคุณได้รู้จัก ENNEAGRAM แล้ว คุณก็จะเริ่มสังเกตเห็น ไทป์ ของคนรอบข้าง อย่างที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน ขอให้เก็บข้อสังเกตนั้นไว้ในใจ และเปิดใจให้กว้างที่สุด จำไว้ว่าการตัดสินว่าใครเป็นไทป์อะไรที่แม่นยำจริง ๆนั้นต้องทำโดยคน ๆนั้นเอง เพราะตัวเราเท่านั้นที่รู้ว่าข้างในลึก ๆของเราคิดอะไรอยู่
แม้ว่ามนุษย์จะมีประเภทหลัก ๆ อยู่แค่เก้าแบบ แต่พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออกมานั้น ได้รับอิทธิพลของ อายุ ไทป์ของพ่อแม่ การเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ในครอบครัว ค่านิยมของสังคม และลักษณะทางพันธุกรรม จึงทำให้คนเราทุกคนมีความแตกต่าง และมีคุณค่าในตัวของตัวเอง ไม่มีใครในโลกนี้ที่เหมือนกันทุกอย่าง

ไปทดสอบได้ที่ http://www.dekisugi.net/enneagram/index.jsp

Share

20 วิธีการจัดการแรงจูงใจ

พอดีวันนี้ผมได้มีโอกาศเข้าไปอ่านเนื้อหาของ Zenhabits โดยผมดูที่ Top Post ของเขาเจอหัวข้อหนึ่งน่าสนใจสุดๆ Top 20 Motivation Hacks เลยแปลมาให้ฟังกัน

20 วิธีการจัดการแรงจูงใจ

  • ทำชาร์ตความก้าวหน้า เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าเราประสบความสำเร็จไปถึงไหนแล้ว ถ้าหากมีุจุดที่ไม่ดีจงอย่าท้อแท้และสู้ต่อไปเพื่อสร้างจุดที่ดีต่อไป
  • สิ่งที่ตัวเองอยากทำ 100% ให้ทำเพียง 50%-75%
  • เข้าสังคมทั้งแบบ Offline หรือ Online เพื่อให้คุณมีแรงจูงใจและมีเป้าหมายที่มั่นคง
  • นำภาพความสำเร็จของคุณมาวางไว้ที่คุณเห็นบ่อยๆ แ้ล้วนึกถึงมันบ่อยๆ (ข้อนี้จริงอย่างแรง)
  • หาเพื่อนร่วมงานหรือคนที่อยากประสบความสำเร็จเหมือนกันในเป้าหมายที่ตั้งไว้เหมือนกับเรา
  • เริ่มทำมันซะ !!! (ผมกว่าจะฝ่าคำนี้ออกมาได้นานอยู่เหมือนกันนะ)
  • ทำให้มันสนุกสนาน ถ้าสิ่งที่คุณอยากจะทำเป็นเรื่องที่สนุกสนานการทำงานนั้นจะดีกว่าคุณทำเพื่อ จุดประสงค์อื่นถ้าคุณสนุกไปกับมันคุณจะทำได้ดี
  • ต้องใช้เวลาและอดทน (คนไฟแรงนี้เซร็งเลยเจอข้อนี้แต่มันคือเรื่องจริงครับ)
  • แตกย่อยเป้าหมายใหญ่ๆเป็นเป้าหมายย่อยๆ (เพื่อที่จะเห็นความก้าวหน้าเป็นขั้นๆ)
  • ให้รางวัลตัวเองบ่อยๆ (จะได้มีกำลังใจทำต่อไปเรื่อยๆไง)
  • ค้นหาแรงบันดาลใจ อย่างสม่ำเสมอ
  • หาผู้แนะนำหรือไปเรียนเพิ่ม (่หาสิ่งแปลกๆใหม่ก็เป็นการเรียนนะ)
  • มีเหตุผลอย่างเต็มที่และเขียนมันซะ เพราะการมีเหตุผลในสิ่งที่เราสนใจมันจะให้ความมีพลังมากกว่าเป็นสิ่งที่คุณสนใจเฉยๆ
  • กา่รตระหนักและกระตุ้นให้มันออกมาและเตรียมตัวสำหรับมัน สำหรับข้อนี้ผมมองว่าเขาหมายถึงให้นึกสิ่งที่เราอยากจะทำแล้วมันจะัเกิดเป็น Idea ให้เราเขียนและเตรียมตัวก่อนจะลงมือจริง
  • ทำให้เป็นกฎไม่ใช่ทำผลัดวันประกันพรุ่ง (ข้อนี้ก็จริงแท้ๆ)
  • มโนภาพถึงเป้าหมายให้ชัดเจนในแต่ละวันอย่างน้อยก่อนทำ 5-10 นาที
  • ทำบันทึกประจำวันเกี่ยวกับเป้าหมายของคุณ
  • สร้างเพื่อนใหม่ซึ่งเกลือหนุนและแข่งขันกัน (ผมโชคดีที่ได้ Zelandiax เป็นคนให้กำลังใจ (คน Comment ให้ผมคนแรกแล้วติด Link ให้ผม :))
  • สร้างความรับผิดชอบต่อสาธารณะชน รับผิดชอบแบบ 100% (การสร้างความรับผิดชอบทำให้คุณมีระเบียบ) เช่นการทำ Blog ก็จะทำให้คุณมีระเบียบมากขึ้น (จริงๆนะถ้ามีคนเข้ามาอ่านเยอะๆ ^^)
  • คิดในทางที่ดีอยู่เสมอ ล้างความคิดที่ไม่ดีออกให้หมด พลังแห่งการคิดในแง่ดีมีพลังมากในการเกิดสิ่งมหัศจรรย์ !! (การที่เราคิดถึงสิ่งแย่ๆมักจะทำให้เราล้มเลิกด้วย)
  • ผมชอบเก็บพวกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยพวกนี้ไว้มากๆ มันช่วยให้เราไม่ต้องหาคำตอบเอาเอง บางทีมันเป็นคำตอบที่ตรงใจเรามั่งไม่ตรงใจเรามั่ง ก็ปรับเปลี่ยนแก้ไขให้มันตรงใจเรา แล้วเขียนเป็นทฤษฎีของตัวเองก็ดีไปอีกแบบนะครับ

    ที่มา: http://www.dominixz.com/

    Share

    จริต 6

    ในหนังสือ Passion ได้นำเรื่องของ จริต 6 มากล่าว เพื่อเข้าใจลูกค้า และ คนอื่นๆ
    ดังนั้น ผมก็เลยขอเอาเนื้อหาของจริต 6 ใน ธรรมะ มาให้อ่านกันซะเลย

    จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยวของ จิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน คือ

    ๑. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์ที่ท่องเที่ยวไปในราคะ คือ ความกำหนัด ยินดีนี้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของจริต มีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไมนิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมี ระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกายก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็ ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย ราคจริต มีอารมณ์จิตรักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตี ความหมายว่า ราคจริต มีจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นพลาดถนัด

    ๒. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน เป็นคนขี้โมโหโทโส อะไรนิดก็โกรธ อะไร หน่อยก็โมโห เป็นคนบูชาความโกรธว่าเป็นของวิเศษ วันหนึ่งๆ ถ้าไม่ได้โกรธเคือง โมโหโทโส ใครเสียบ้างแล้ว วันนั้นจะหาความสบายใจได้ยาก คนที่มีจริตหนักไปในโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูด เสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่ใคร่ละเอียดถี่ถ้วน แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว

    ๓. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าการจ่ายออก ไม่ว่า อะไรเก็บดะ ผ้าขาดกระดาษเก่า ข้าวของตั้งแต่ใดก็ตาม มีค่าควรเก็บหรือไม่ก็ตามเก็บดะไม่เลือก มีนิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ชอบเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล รวมความว่าเป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้

    ๔. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณานิดหน่อย ก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก

    ๕. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุไร้ผล พวกที่ ถูกหลอกลวงก็คนประเภทนี้ มีใครแนะนำอะไรตัดสินใจเชื่อโดยไม่ได้พิจารณา

    ๖. พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาดเฉลียว มีปฏิภาณไหวพริบดี การคิดอ่านหรือการทรงจำก็ดีทุกอย่าง อารมณ์ของชาวโลกทั่วไป

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลอารมณ์ว่า อยู่ในกฎ ๖ ประการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อย ยิ่งหย่อนกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในการละในชาติที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้าย คลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน ทั้งนี้ก็เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมี ที่มีอบรมมามาก บารมีในการละมีสูงอารมณ์จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละ มีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรง จริตมีอารมณ์อย่างเดียวกันแต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวแล้ว

    ที่มา : http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=1868
    ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=605
    ข้อมูลเพิ่มเติมและวิธีแก้ไข : http://dhamma-isara.org/vidhi3_2.html << แนะนำ!!

    ถ ้าอยากรู้เรื่อง จริต 6 แบบใช้ภาษาง่ายๆ พร้อมวิธีแก้ไข และจำแนกบุคคล เช่น เจ้านาย ลุกน้อง แฟน ลูก ก็ลองหาหนังสือ เล่มนี้มาอ่านครับ

    จริต ๖ : ศาสตร์ในการอ่านใจคน
    สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
    โดย : ดร.อนุสร จันทพันธ์; ดร.บุญชัย โกศลธนากุล

    Share