Category Archives: พุทธศาสนา

บรรยาย องค์กรที่เรียนรู้อย่างมีความสุขแบบวิถี­พุทธ โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

บังเอิญนั่งเปิดดู Youtube เล่นๆ ไปเจอบรรยายเรื่อง  ”องค์การที่เรียนรู้อย่างมีความสุขแบบวิถี­พุทธ” โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
น่าสนใจดีครับ ท่านบรรยายไว้ตั้งแต่ปี 2553 แล้ว ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เนื้อความส่วนมาก เป็นการพูดถึงเรื่องการศึกษา โดยมีจุดเปลี่ยนทั้งหมดเริ่มมาจากอาจารย์มหาวิทยาลัย
ต้องบอกว่าท่านเป็นคนพูดตรงๆ ดังนั้น ด่าอาจารย์และนักศึกษาได้ดุเดือดสะใจเลยทีเดียว

โดยวีดิโอ มันมีทั้งหมด 4 ตอนครับ คนอัพโหลดวีดิโอเขาก็แบ่งอัพทีละ 10 นาที เลยอาจจะต้องตามดูกันเรื่อยๆ
ใครสนใจ ผมได้สร้าง playlist ไว้ ลองไล่ดูกันที่นี่ครับ
http://www.youtube.com/watch?v=FYV264wFtmM&list=PLmcnKladSA0csbpWafT9-Bi4DKfTrcoNu&index=1

ส่วนด้านล่างเป็นข้อความโดนๆ ที่ผมสรุปไว้ใน Twitter @ifew

ชีวิตนี้ไม่เคยลองผิดลองถูก เคยแต่อ่านให้จำให้ได้ก่อน แล้วค่อยลงมือ สันดานไม่ดี -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

องค์กรสมัยใหม่ใช้ Key Behavior Study ไม่ได้มองจาก KPI แต่มองจาก Process, วิธีคิด และทัศนคติมากกว่า -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

คนอ่อนแอมักใช้กฏกติกาและคำสั่ง คนเข้มแข็ง คนมีความรัก จะไม่ใช้ -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

Inspriration เป็นเรื่อง inside out ไม่ใช่ outside in -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

หลักการ Learn to learn อย่างแรกคือ เปิดพื้นที่ปลอดภัย (ญี่ปุ่นเรียกว่า Ba) จากนั้นจะเกิด Trust > Inspriration > Success -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

อะไรที่คุณมองไม่เห็น อย่าเพิ่งสรุปว่าไม่มี -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ที่ปูนซีเมนไทย ถึงขั้น จบป.4 เครื่องจักรเสียแต่วิศวะกรแก้ไม่ได้นะครับ ลุงเดินไปปักธูปพวงมาลัยเครื่องจักรสตาร์ท -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

อนาคตพวกแมคกายเวอร์ จะมีประโยชน์กว่าพวกอาจารย์เยอะเลย คือไม่มีปริญญา แต่จับอะไรแม่งซ่อมได้หมดเลย -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ประวัติศาสตร์สอนว่าคนยึดมั่นถือมั่น พังทุกราย -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ประวัติศาสตร์สอนเรื่องปมด้อยคน อย่าเรียนปวศเพราะอะไรใครทำอะไรให้ดูวิธีคิดของคน ปมในใจ motive, inspriration ของเขา ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

เราต้อง รู้โดยไม่คิด (Sensing without Thinking) ตัดตัวคิดออกไป ชิบหายทุกวันนี้ ทุกข์ทุกวันนี้ เพราะตัวคิดทั้งนั้น .. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

KPI เขามีไว้รักกัน แต่ของไทย KPI มีไว้ประนามกัน.. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

จงอย่าสอนให้เด็กรู้อะไรเลยครับ แต่จงสอนให้ศิษย์ของเรา เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learn How to Learn) สำคัญที่สุด.. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

หลงเข้ามา 4 ปี เจออาจารย์ปิ้งแผ่นใส ถุยๆ พอจบมาพวก hr โง่ๆก็ดูแต่เกรด มึงทั้งหมดที่โง่ๆก็ไปเป็นอาจารย์ มันเจ๊งสิ.. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

อาจารย์ทำตัวห่างเหินจากเด็ก จะเริ่มเข้าสู่ยุคไม่มีอาชีพอาจารย์เพราะเด็กหาจากInternetได้ และไม่งกวิชาเหมือนพวกอาจารย์ .. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ดร. มันแค่คิดเหมือนกับคน 5 คน แต่คนอีก 6 พันล้านคนยังไม่รู้จักซะด้วยซ้ำเลยว่า ดร มันคืออะไร.. ทิ้งมันไป ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ถ้าปะป๋าสอนหนูให้คิดเหมือนกัน­ปะป๋านะ หนูจะประสบณ์ความสำเร็จในยุคขอป­ะป๋า แต่ล้มเหลวในยุคของหนูเอง .. ลูก ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

Share

ดร.วรภัทร ภู่เจริญ – ผมไม่ได้สอนธรรมะ แต่ผมสอนชีวิต

น่าจะเป็นคลิปที่เพิ่งออกมาไม่นาน และฟังได้ทันสมัยมากครับ
เหมาะกับคนทั่วไปและวัยรุ่นมาก

ท่านเล่าถึงจริตของคนแต่ละคนมี นิสัย สันดาน
เมื่อมาปฏิบัติธรรมแล้วจะแสดงจุดเด่นจุดด้อยออกมายังไง

มีกล่าวถึงนิสัยที่เจอได้บ่อยๆ ตามเวบบอร์ดด้วย เช่น
พวกชอบอ่านชอบฟังมาเยอะ ตัวเองไม่ค่อยลงมือปฏิบัติจริงๆจังเท่าไร
แต่ชอบอ้างเอาคำสอนครูบาอารย์ท่านนั้นท่านนี้ไปถกเถียงไปโจมตีไปว่ากล่าวคนอื่น เป็นต้น

ขอบคุณที่มา: http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y9632836/Y9632836.html#24

http://b613.exteen.com/20100901/entry

และผู้ส่งต่อให้ลิงค์ผมมาอีกที @ilumin











Share

ธรรมะ 4 ประการ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี

ธรรมะ 4 ประการ

1. อย่าเป็นนักจับผิด คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง ” กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก ” คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส ” จิตประภัสสร ” ฉะนั้น “จงมองคน มองโลกในแง่ดี แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข ”

2. อย่ามัวแต่คิดริษยา ” แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน ” คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า ” เจ้ากรรมนายเวร ” ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้องถอดถอนความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น ” ไฟสุมขอน ” ( ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี ” แผ่เมตตา ” หรือ ซื้อโคมมา แล้ว เขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป

3. อย่าเสียเวลากับความหลัง 90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ ” ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น ” มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไป ด้วยความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ ” อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน ” อยู่กับปัจจุบันให้เป็น ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี “สติ” กำกับตลอดเวลา

4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ “ตัณหา” ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่ เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ “ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม” ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรูคุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์ เราต้องถามตัวเองว่า ‘เกิดมาทำไม’ ‘คุณค่าที่แท้จริง ของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน ตามหา “แก่น” ของชีวิตให้เจอ คำว่า “พอดี” คือ ถ้า “พอ” แล้วจะ “ดี” รู้จัก “พอ จะมีชีวิต อย่างมีความสุข…

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

Share