การทุยโส่ว(ชุยชิ่ว-การผลักมือ) กับการรำมวยของมวยไท่จี๋(ไท่เก๊ก)

โดย อ.เซียวหลิบงั้ง (webmaster www.thaitaiji.com)1. การผลักมือกับการรำมวย มีหลักอย่างเดียวกันหรือไม่

หลักพื้นฐานของมวยไท่จี๋ไม่พ้นไปจาก “เคล็ดเจ็ดตัวอักษร” และ
เคล็ดสิบประการ

ในเคล็ดเจ็ดตัวอักษรมี

จิ้ง(แจ๋-สงบ)
ซง(ซง-ผ่อนคลาย)
เหวิ่น(อุ้ง-มั่นคง)
หวิน(อุ๊ง-สม่ำเสมอ)
ห่วน(หมั่ง-ช้า)
เหอ(ฮะ-สัมพันธ์)
เหลียน(เลี้ยง-ต่อเนื่อง)

ส่วนเคล็ดสิบประการ(ไปดูรายละเอียดได้ในหัวข้อเคล็ด 10 ประการ) มี

1.ซวีหลิงติ่งจิ้ง (ฮือเล้งเตงแก่-พลังบนกระหม่อมต้องเบาคล่อง)
2.หันเซียงป๋าเป้ย (ฮ่ำเฮงปวกป่วย-เก็บอกดึงหลัง)
3.ซงเอียวลั่วควน (ซงเอียเหลาะคัว-คลายเอวลดสะโพก)
4.ซวีสือเฟินหมิง (ฮือซิกฮุงเม้ง-แยกเต็มว่างให้ชัดเจน)
5.เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว (ติ่มโกยตุ่ยอิ้ว-คลายไหล่ถ่วงศอก)
6.ย่งอี้ปู๋ย่งลี่ (เอ่งอี่ปุกเอ่งลัก-ใช้จิตไม่ใช้แรง)
7.ซ่างเซี่ยเซียงสุย (เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย-บนล่างคล้อยตามกัน)
8.เน่ยไว่เซียงเหอ (ไหล่กงั่วเซียงฮะ-ในนอกสัมพันธ์กัน)
9.เซียงเหลียนปู๋ต้วน (เซียงเลี้ยงปุ้กต๋วง-ต่อเนื่องไม่ขาดสาย)
10.ต้งจงฉิวจิ้ง (ต๋งตังขิ่วแจ๋-แสวงหาความสงบในความเคลื่อนไหว)

หลักของ”เคล็ดเจ็ดตัวอักษร“และ “เคล็ดสิบประการ” เหมือนกันทุกอย่าง
ต่างกันเพียงแต่วิธีการพูดการนำเสนอเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทุยโส่วหรือ
การรำมวย ล้วนแต่ต้องสอดคล้องกับหลักสำคัญเหล่านี้ แต่ในการทุยโส่ว
ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่พันตูกันระหว่างคนสองคน ดังนั้น ในการทุยโส่ว
นอกจากต้องยึดกุมหลักพื้นฐานที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องยึดกุมหลักของ
จัน(เตียม-แนบ), เหลียน(เลี้ยง-เข้าร่วม), เหนียน(เนียม-เกาะติด),
สุย(ซุ้ย-ติดตาม) และกฎเกณฑ์ของฮว่า(ห่วย-เปลี่ยนแปลง),
อิ่น(อิ้ง-ชักนำ), หน่า(น่า-จับ), ฟา(หวก-ปล่อยพลัง)

และต้องไม่ทำผิดในเรื่องของ ติ่ง(เต้ง-ค้ำ), ค่าน(ขั่ง-ต้าน), เปี่ยน(ปี้-แบน),
ติว(ติว-ทิ้งห่าง) ที่เรียกว่าซื่อปิ้ง(ซี่แป่-โรคทั้งสี่)ในการทุยโส่ว หากว่าไม่ได้
ผ่านภาคปฏิบัติในการทุยโส่ว ก็จะไม่สามารถยึดกุมหลักในการทุยโส่วเหล่านี้
และไม่สามารถเข้าใจหลักเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน การรำมวยก็
ใช้พื้นฐานของการทุยโส่ว หากว่าไม่สามารถยึดกุม “เคล็ดเจ็ดตัวอักษร
และ “เคล็ดสิบประการ” ในการำมวย อย่างนั้นก็อย่าหมายว่าสามารถยึดกุม
หลักในการทุยโส่วให้ดีได้เช่นกัน

2. ทำไมการเรียนการสอนทุยโส่วจึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
กับการยึดกุมหลักพื้นฐาน

มีคำกล่าวว่า “สามารถฝึกฝนมวยให้ถูกวิธี ย่อมได้ผลรับที่ดี” คำว่า
“ถูกวิธี” หมายถึงการยึดกุมเกาะกุมหลักพื้นฐานที่ถูกต้อง อันที่จริง
ไม่เพียงแต่การฝึกมวยเท่านั้นที่ต้องทำเช่นนี้ ไม่ว่าวิชาอะไรในโลก
นี้ก็ต้องทำเช่นนี้ อย่าว่าแต่ศิลปะวิชาที่ซับซ้อนละเอียดอ่อนเลย
แม้ว่างานนั้นจะมีความง่ายขนาดไหน ถ้าหากทำไม่ถูกต้องถูกวิธี
ก็ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายตามมามากมาย ดังนั้นอาจารย์ที่มี
ชื่อเสียงและประสบการณ์เวลาที่สอนมวยไท่จี๋และทุยโส่ว จึงไม่
มีใครที่ละเลยต่อหลักพื้นฐาน ถ้าเวลาที่เราทุยโส่ว หากเราเสีย
เปรียบคู่ต่อสู้แม้เพียงเล็กน้อย นั่นย่อมหมายความว่าต้องมีหลัก
พื้นฐานอย่างหนึ่งอย่างใดที่เราทำไม่ถูกต้อง

เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว จึงควรทุ่มเทกายใจศึกษาหลักพื้นฐานให้ดี
โดยไม่ละเลย คำว่า “พื้นฐาน” คำคำนี้บางทีก็ทำให้บางคนเกิด
ความตายใจ รู้สึกดูแคลน ไม่ใส่ใจ เพราะคิดว่าเป็นพื้นฐาน เรารู้
แล้ว ได้ยินได้ฟังมามากแล้ว แต่ที่ว่ารู้แล้ว ที่จริงรู้จริงหรือเปล่ารู้
ถูกต้องหรือเปล่า รู้แล้วทำได้หรือยัง ทำได้ดีแค่ไหน ส่วนใหญ่ผู้
เรียนมักอยากได้แต่เคล็ดที่มันดูลึกลับซับซ้อน เพราะคิดว่านั่น
แหละถึงจะใช่ แต่หารู้ไม่ว่า หลักพื้นฐานนี่แหละสำคัญที่สุด เช่น
เดียวกับการสร้างอาคาร เราทุกคนรู้กันดีว่ารากฐานพื้นฐานของ
อาคารสำคัญที่สุด อาคารยิ่งสูงเท่าไหร่รากฐานก็ยิ่งมีความสำคัญ
เป็นเงาตามตัว ในทำนองเดียวกัน มวยไท่จี๋ที่มีความละเอียดลึกซึ้ง
ก็ต้องการพื้นฐานที่ดีมั่นคงเช่นเดียวกัน จึงจะสามารถฝึกได้ถึงขั้น
สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

ที่มา: http://www.thaitaiji.com/taiji/theory/push-hand/pushhand1.html

Share

1 thought on “การทุยโส่ว(ชุยชิ่ว-การผลักมือ) กับการรำมวยของมวยไท่จี๋(ไท่เก๊ก)

  1. Kanatips Boonpar

    ผม กับ หมอมรฯ ประจำสถานีอนามัยชุมชนบ้านตลาดทุ่งเหียง
    มีโครงการชมรมรำมวยไทเก็ก เพื่อสุขภาพ ต้องการผู้รู้แนะนำการเริ่มต้นฯ ติดต่อทางเมลล์ หรือ 082-4877909
    เรามีศาลเจ้าเซียนซือสว่างเหตุธรรมสถาน เนื้อที่2-3ไร่รองรับ เรียนเชิญ นัดพบเพื่อทำประโยชน์สังคม บ้านตลาดทุ่งเหียง ต.หมอนนาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.