วันวิสาขะบูชา

อย่าลืมไปทำบุญกันนะครับวันนี้

สำหรับผม พวกบาปหนา คงจะไปเวียนเทียน
ไม่รู้วันนี้ตอน 7 โมง จะแหกขี้ตา ไปทำบุญทันไหม -_-”

มาทบทวน วิชาพุทธศาสนา กันเล็กน้อย เอาแบบย่อๆ

วันวิสาขบูชา คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีสถาน ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ได้รับพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ
* เสริม 1. ตอนผมบวช พระครูบอกว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ชื่อเล่นว่า อังคีรส (แต่ในพระไตรปิฎกบอกว่าเป็นอีกพระนามหนึ่งเท่านั้น เพราะมหาบุรุษ มีแสงรัศมีทั่วร่างกาย)

เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
เป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก เขาจึงถือว่าวันนี้สำคัญมากๆๆๆๆๆ
มหาบุรุษ ทรง เข้า ฌาน เพื่อบรรลุ ญาณ ไปจนถึง…
ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ “อาสวักขญาณ” คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
* เสริม 2. ถ้าผมจำไม่ผิด พระองค์ทรงตรัสรู้ประมาณรุ่งเช้าพอดี จำช่วงเวลาไม่ได้

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพพาน ณ ร่มต้นสาละ คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า ” ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บ ริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน
* เสริม 3. ปรินิพพาน คือ การไม่กลับมาเกิด ไม่กลับมาสร้างภพ สร้างชาติอีกต่อไป
* เสริม 4. ปัจฉิมโอวาท คือคำที่พระองค์ได้ตรัสเป็นครั้งสุดท้าย
* เสริม 5. ช่วงที่พระองค์จะปรินิพพาน 3 เดือนจนถึงปรินิพพาน เป็นช่วงที่ผมอ่านแล้วซึ้งมาก น้ำตาไหลๆ ลองหาอ่านดูนะครับแนะนำ บทที่เรียบเรียงโดย อ.วสิน อินทสระ (ถ้าพิมพ์ผืดต้องขออภัย แหะๆ)

จาก http://ifew.exteen.com/20060512/entry

Share

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.