Category Archives: ไทเก๊ก

ชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ

ดองไปซะนาน แหะๆ เหม็นไปทั่ว blog เลย วันนี้เลยเอาเรื่องไทเก๊กมาฝาก

เมื่อวัน 15-17 ยอมโดดงานแต่งงานเจ้านาย ไปเข้าคอร์สอบรมไทเก๊กกับธาตุทั้ง 5 มา
พูดง่ายๆ ก็คือไปเรียนกำลังภายใน นั่นเอง รู้สึกว่าได้อะไรเยอะมากๆ และะรู้สึกคิดถึงพี่เชนอย่างสุดซึ้ง

อาจารย์ที่สอนคือ อาจารย์ฌานเดช พ่วงจีน เป็นหนึ่งในกระบวนกรของมูลนิธิสังคมวิวัฒน์ (Foundation for an Evolving Society) หรือเว็บ วงน้ำชา.คอม นั่นเอง

ขอเกริ่นนิดๆว่า รูปแบบการสอนของมูลนิธินี้จะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า สุนทรียสนทนา (Dialogue) ทุกคนจะนั่งสบายๆ อยากนอนก็นอน นั่งก็นั่ง แล้วฟังอาจารย์สอน จากนั้น จะล้อมวง ซักถาม เสนอความคิดเห็น กัน ในระหว่างที่ใครพูด ทุกคนจะเงียบฟัง และอาจารย์จะให้คำตอบปิดท้ายในทีเดียว และในระหว่างการฟัง จะต้องแขวนความคิดของตนเองไว้ก่อน เพื่อให้ข้อมูลของคนอื่นไหลเข้ามา และคิดประมวลผลตอนจบในทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ใช้ได้เลยทีเดียว (เป็นหนึ่งในวิธีที่อาารย์ฌานเดชเอาไปสอนพวก ดร. ในกลุ่มของเครือซีเมนต์ไทย) และอีกอย่างที่มูลนิธินี้ได้ทำคือ โครงการ HomeSchool ที่เป็นวิธีการเลี้ยงลูกแบบอยู่กับบ้าน โดยเราสร้างแรงบรรดาลใจเพื่อให้เด็กเกิดความอยากเรียนรู้และตอบสนองในใจที่เ ขาต้องการ ซึ่งลูกของอาจารย์และลูกศิษย์ของท่านแต่ละคน ล้วนประสบความสำเร็จ จนผมทึ่งไปเลย
การเข้าไปฝึกครั้งนี้ เหมือนทำให้ผมรู้สึกว่าเข้าไปเรียนวิชาหมอจีนยังไงก็ไม่รู้ เพราะทั้งหมดผมเคยอ่านเจอในหนังสือแพทย์แผนจีนมาบ้าง แต่พอมาฝึก ก็ทำให้กระจ่างแจ้งในที่มาเลยทีเดียว นี่แหละเหตุผลที่ทำให้คิดถึงพี่เซน (ฮ่าๆ เชนที่รักขาาาา คิดถึงจังเลย) แต่ก็พอโชคดีบ้างที่มีลูกศิษย์อาจารย์เรียนแพทย์แผนธิเบตมาสอนร่วมด้วย อายุน้อยกว่าผมซะอีก ก็เลยพอจะซักถามอะไรบางส่วนได้บ้าง (ไม่ต้องรอมาถามที่รักเชน ฮ่าๆ) ถามว่าได้อะไรไหมมันได้นะ แต่ถ้าจะให้เล่า ก็ไม่รู้จะเล่าอะไร มันก็แปลกๆ เหมือนกัน เอาเป็นว่า ดูรูปที่ผมถ่ายมาละกัน

อันนี้สอนพื้นฐานของการฝึกว่า มันเริ่มจากสิ่งสูงสุดคือ ไท่ชิ หรือ ไท่จี๋ หรือ มวยไทจี๋ (ไทเก๊ก)
ซึ่งมวยก็จะแยกเป็น 2 ส่วนคือ หยิน (ฝึกภายใน) และ หยาง (ฝึกภายนอก)  ซึ่งในหยางก็มีหยิน ในหยินก็มีหยาง ลึกลงไปเรื่อยๆ อีกที
การฝึกภายในก็เป็นเรื่องของการฝึกกำลังภายใน การบ่มเพาะพลัง การเก็บพลัง การปล่อยพลัง การทำสมาธิ การหายใจทั้งหลายแหล่

ก ารฝึกภายนอกก็เป็นเรื่องของท่าทางที่ใช้  มีท่ารุกและรับ แยกเป็น 8 ท่า รวมท่าก้าวเท้าอีก 5 เป็น 13 ท่าพื้นฐานของไทเก๊กที่รำกันอยู่ทุกวัน ล้วนผลสมมาจาก เผิง หลีว์ จี่ อั้น ไฉ่ เลียะ โจ่ว โค่ว ทั้งนั้น

(ชักเริ่ม งง เว้ย)

และอาจารย์ก็ได้พูดเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของนาฬิกาชีวิต ที่ว่า เวลาไหน อวัยวะไหนทำงาน ชี่เดินทางไปไหน
เราควรดูแลอย่างไร ควรป้องกันและบำรุงมันได้อย่างไร ตรงนี้เอาไปใช้รักษาร่่างกายได้อย่างดีเลย

แต่นอกจากชี่จะเดินทางผ่านอวัยวะแล้วก็ยังมีจุดต่างๆ ที่ต้องรู้ด้วย และจุดเลห่านี้ก็สำคัญในการทำสมาธิ
บ่มเพาะ และเดินพลังเพื่อมาใช้งาน


รูปนี้คือสถานที่ฝึกและประลองยุทธ ฮ่าๆๆ (สถานปฏิบัติธรรม ธาราศัย ซอยสันติธรรม นครสวรรค์)

เรื่องมวยเป็นเรื่องที่อยากได้อยู่แล้ว แต่เรื่องที่เป็นของแถมติดตัวมา มีค่ามากกว่ามวยที่ผมเรียนเสียอีก
นั่นคือ การนำหลักการของมวย ความสมดุล ของหยินหยาง  ความเป็น เต๋า เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้เรามีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ ไม่ว่าจะเกิดกับตัวเองและคนรอบข้างของเราทั้งหลาย

ต้องรู้จักวาระของเรา วาระของเขา ว่าทุกคนล้วนมีเหตุผลเป็นของตนเอง แล้วจะทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เขาคิด
เขาทำ เข้าใยความเป็นเราเป็นเขา แล้วจะทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั้งโลกและจักรวาลได้อย่างน่าทึ่ง

ม ันเป็นการตอบคำถามในสิ่งที่ผมคิดมานานได้เหมือกนันว่า ชีวิตเราจะอยู่ในทางโลก แต่ก็อยู่ในทางธรรมได้สมดุลได้อย่างไร ถึงแม้ว่าจะเป็นคำตอบที่ไม่กระจ่าง แต่ผมก็เชื่อว่า หากเริ่มทดลองทำตามที่รู้มา ไม่ว่าจะผ่านทางปรัชญาของมวย หรือ ปรัชญาของเต๋า หยินหยาง คิดว่าคงน่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

อาจารย์สอนไว้ว่า เมื่อมีอี้(ความคิด,จินตนาการ) ก็จะทำให้เกิดชี่(พลังชีวิต) เมื่อชี่และอี้พร้อม เสิน(ปัญญา)ก็จะมา

ห มายความว่า เมื่อเราคิดสิ่งใดก็มุ่งมั่นที่จะทำ ที่สำคัญจะต้องเชื่อว่ามันมีจริงและทำได้จริง มันจะทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดกับเราหรือเกิดกับสิ่งรอบตัวเรา ดังนั้น เมื่อกายพร้อมและใจพร้อม ปัญญาที่เอาไว้ให้เราหลุดพ้นจากปัญหามันจะเกิดขึ้น

เอวัง ด้วยประการฉะนี้..

Share

การทุยโส่ว(ชุยชิ่ว-การผลักมือ) กับการรำมวยของมวยไท่จี๋(ไท่เก๊ก)

โดย อ.เซียวหลิบงั้ง (webmaster www.thaitaiji.com)1. การผลักมือกับการรำมวย มีหลักอย่างเดียวกันหรือไม่

หลักพื้นฐานของมวยไท่จี๋ไม่พ้นไปจาก “เคล็ดเจ็ดตัวอักษร” และ
เคล็ดสิบประการ

ในเคล็ดเจ็ดตัวอักษรมี

จิ้ง(แจ๋-สงบ)
ซง(ซง-ผ่อนคลาย)
เหวิ่น(อุ้ง-มั่นคง)
หวิน(อุ๊ง-สม่ำเสมอ)
ห่วน(หมั่ง-ช้า)
เหอ(ฮะ-สัมพันธ์)
เหลียน(เลี้ยง-ต่อเนื่อง)

ส่วนเคล็ดสิบประการ(ไปดูรายละเอียดได้ในหัวข้อเคล็ด 10 ประการ) มี

1.ซวีหลิงติ่งจิ้ง (ฮือเล้งเตงแก่-พลังบนกระหม่อมต้องเบาคล่อง)
2.หันเซียงป๋าเป้ย (ฮ่ำเฮงปวกป่วย-เก็บอกดึงหลัง)
3.ซงเอียวลั่วควน (ซงเอียเหลาะคัว-คลายเอวลดสะโพก)
4.ซวีสือเฟินหมิง (ฮือซิกฮุงเม้ง-แยกเต็มว่างให้ชัดเจน)
5.เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว (ติ่มโกยตุ่ยอิ้ว-คลายไหล่ถ่วงศอก)
6.ย่งอี้ปู๋ย่งลี่ (เอ่งอี่ปุกเอ่งลัก-ใช้จิตไม่ใช้แรง)
7.ซ่างเซี่ยเซียงสุย (เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย-บนล่างคล้อยตามกัน)
8.เน่ยไว่เซียงเหอ (ไหล่กงั่วเซียงฮะ-ในนอกสัมพันธ์กัน)
9.เซียงเหลียนปู๋ต้วน (เซียงเลี้ยงปุ้กต๋วง-ต่อเนื่องไม่ขาดสาย)
10.ต้งจงฉิวจิ้ง (ต๋งตังขิ่วแจ๋-แสวงหาความสงบในความเคลื่อนไหว)

หลักของ”เคล็ดเจ็ดตัวอักษร“และ “เคล็ดสิบประการ” เหมือนกันทุกอย่าง
ต่างกันเพียงแต่วิธีการพูดการนำเสนอเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทุยโส่วหรือ
การรำมวย ล้วนแต่ต้องสอดคล้องกับหลักสำคัญเหล่านี้ แต่ในการทุยโส่ว
ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่พันตูกันระหว่างคนสองคน ดังนั้น ในการทุยโส่ว
นอกจากต้องยึดกุมหลักพื้นฐานที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องยึดกุมหลักของ
จัน(เตียม-แนบ), เหลียน(เลี้ยง-เข้าร่วม), เหนียน(เนียม-เกาะติด),
สุย(ซุ้ย-ติดตาม) และกฎเกณฑ์ของฮว่า(ห่วย-เปลี่ยนแปลง),
อิ่น(อิ้ง-ชักนำ), หน่า(น่า-จับ), ฟา(หวก-ปล่อยพลัง)

และต้องไม่ทำผิดในเรื่องของ ติ่ง(เต้ง-ค้ำ), ค่าน(ขั่ง-ต้าน), เปี่ยน(ปี้-แบน),
ติว(ติว-ทิ้งห่าง) ที่เรียกว่าซื่อปิ้ง(ซี่แป่-โรคทั้งสี่)ในการทุยโส่ว หากว่าไม่ได้
ผ่านภาคปฏิบัติในการทุยโส่ว ก็จะไม่สามารถยึดกุมหลักในการทุยโส่วเหล่านี้
และไม่สามารถเข้าใจหลักเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน การรำมวยก็
ใช้พื้นฐานของการทุยโส่ว หากว่าไม่สามารถยึดกุม “เคล็ดเจ็ดตัวอักษร
และ “เคล็ดสิบประการ” ในการำมวย อย่างนั้นก็อย่าหมายว่าสามารถยึดกุม
หลักในการทุยโส่วให้ดีได้เช่นกัน

2. ทำไมการเรียนการสอนทุยโส่วจึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
กับการยึดกุมหลักพื้นฐาน

มีคำกล่าวว่า “สามารถฝึกฝนมวยให้ถูกวิธี ย่อมได้ผลรับที่ดี” คำว่า
“ถูกวิธี” หมายถึงการยึดกุมเกาะกุมหลักพื้นฐานที่ถูกต้อง อันที่จริง
ไม่เพียงแต่การฝึกมวยเท่านั้นที่ต้องทำเช่นนี้ ไม่ว่าวิชาอะไรในโลก
นี้ก็ต้องทำเช่นนี้ อย่าว่าแต่ศิลปะวิชาที่ซับซ้อนละเอียดอ่อนเลย
แม้ว่างานนั้นจะมีความง่ายขนาดไหน ถ้าหากทำไม่ถูกต้องถูกวิธี
ก็ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายตามมามากมาย ดังนั้นอาจารย์ที่มี
ชื่อเสียงและประสบการณ์เวลาที่สอนมวยไท่จี๋และทุยโส่ว จึงไม่
มีใครที่ละเลยต่อหลักพื้นฐาน ถ้าเวลาที่เราทุยโส่ว หากเราเสีย
เปรียบคู่ต่อสู้แม้เพียงเล็กน้อย นั่นย่อมหมายความว่าต้องมีหลัก
พื้นฐานอย่างหนึ่งอย่างใดที่เราทำไม่ถูกต้อง

เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว จึงควรทุ่มเทกายใจศึกษาหลักพื้นฐานให้ดี
โดยไม่ละเลย คำว่า “พื้นฐาน” คำคำนี้บางทีก็ทำให้บางคนเกิด
ความตายใจ รู้สึกดูแคลน ไม่ใส่ใจ เพราะคิดว่าเป็นพื้นฐาน เรารู้
แล้ว ได้ยินได้ฟังมามากแล้ว แต่ที่ว่ารู้แล้ว ที่จริงรู้จริงหรือเปล่ารู้
ถูกต้องหรือเปล่า รู้แล้วทำได้หรือยัง ทำได้ดีแค่ไหน ส่วนใหญ่ผู้
เรียนมักอยากได้แต่เคล็ดที่มันดูลึกลับซับซ้อน เพราะคิดว่านั่น
แหละถึงจะใช่ แต่หารู้ไม่ว่า หลักพื้นฐานนี่แหละสำคัญที่สุด เช่น
เดียวกับการสร้างอาคาร เราทุกคนรู้กันดีว่ารากฐานพื้นฐานของ
อาคารสำคัญที่สุด อาคารยิ่งสูงเท่าไหร่รากฐานก็ยิ่งมีความสำคัญ
เป็นเงาตามตัว ในทำนองเดียวกัน มวยไท่จี๋ที่มีความละเอียดลึกซึ้ง
ก็ต้องการพื้นฐานที่ดีมั่นคงเช่นเดียวกัน จึงจะสามารถฝึกได้ถึงขั้น
สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

ที่มา: http://www.thaitaiji.com/taiji/theory/push-hand/pushhand1.html

Share

เคล็ด 10 ประการของมวยไท่เก๊ก

เอี่ยเถ่งโพ่ว (หยางเฉิงฟู่) ……………ผู้ถ่ายทอด
ตั่งหมุ่ยเม้ง (เฉินเวยหมิง) ……………… ผู้บันทึก

เรียบเรียงโดย อ.เซียวหลิบงั้ง (webmaster http://www.thaitaiji.com)

1. ฮือเล้งเตงแก่ (ซวีหลิงติ่งจิ้ง) คือ ศรีษะตั้งตรงจิตแล่นขึ้นบนกระหม่อม อย่าใช้กำลัง ถ้าใช้กำลังคอจะเกร็งแข็ง เลือดลมจะเดินไม่สะดวก ต้องใช้จิตที่เบาและคล่อง ถ้าไม่มีฮือเล้งเตงแก่ ย่อมไม่สามารถยกจิตให้มีสติได้

2. ห่ำเฮงปวกป่วย (หันเซียงป๋าเป้ย) ห่ำเฮง คือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าอก ทำให้ขี่ (ชี่) จมลงสู่ตังชั้ง (ตันเถียน) ห้ามการเบ่งอก เบ่งอกทำให้ขี่กักอยู่บริเวณหน้าอกมีผลให้ร่างกายส่วนบนหนักส่วนล่างเบา เมื่อยกเท้าขึ้นเตะร่างกายก็เบาลอย ปวกป่วย คือ การที่ขี่แล่นแนบติดกระดูกสันหลัง ถ้าสามารถทำห่ำเฮงได้ก็จะทำปวกป่วยได้โดยอัตโนมัติ สามารถปวกป่วยได้ก็จะสามารถส่งพลังออกจากหลังได้ทำให้ไร้คู่ต่อสู้

3. ซงเอีย (ซงเอียว) คือการผ่อนคลายเอว เอวเป็นส่วนที่ควบคุมร่างกายเป็นอันดับแรก สามารถผ่อนคลายเอวภายหลังสองขาจึงจะมีกำลัง รากฐานมั่นคง ฮือซิก (ว่างและเต็ม) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอาศัยเอวเป็นตัวจักรสำคัญ ดั่งคำว่า “จิตสั่งงานเริ่มต้นที่เอว” มีส่วนใดของร่างกายไม่ถูกต้องให้ปรับที่เอวและขาก่อน

4. ฮุงฮือซิก (เฟินซวีสือ) คือการแบ่งเต็มและว่าง ซึ่งเป็นหลักใหญ่อันดับแรกของมวยไท่เก๊ก ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาขวา เช่นนั้น ขาขวาคือเต็ม ขาซ้ายคือว่าง น้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาซ้าย เช่นนั้นแล้วขาซ้ายคือเต็ม ขาขวาคือว่าง เมื่อสามารถแบ่งเต็มและว่าง เมื่อนั้นการเคลื่อนไหวและการหมุนตัวย่อมคล่องแคล่วไม่ต้องเสียกำลังแม้แต่น ้อย ถ้าไม่สามารถแบ่งแยกได้ เมื่อนั้นการก้าวเท้าก็จะหนักและฝืด ยืนไม่มั่นคงง่ายต่อการถูกผู้อื่นทำให้เซได้

5. ติ่มโกยตุ่ยอิ้ว (เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว) ติ่มโกย คือ การลดและผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่ หากไม่สามารถผ่อนคลายได้ สองไหล่ก็จะยกขึ้น เมื่อนั้นขี่ก็จะแล่นตามขึ้นข้างบน ทั้งร่างกายจะไม่มีพลัง ตุ่ยอิ้ว คือ การผ่อนคลายข้อศอกและให้ปลายข้อศอกคล้ายกับมีน้ำหนักถ่วงลงพื้น หากศอกยกขึ้นก็จะทำให้ไม่สามารถลดหัวไหล่ลงได้ ไม่สามารถตีคนให้กระเด็นออกไปไกลได้

6. เอ่งอี่ปุกเอ่งลัก (ย่งอี้ปู๋ย่งลี่) คือ การใช้จิตมาสั่งการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ใช้กำลังมาเคลื่อนไหว ในคัมภีร์ไท่เก๊ก มีตอนหนึ่งกล่าวว่า “ ทั้งหมดนี้ คือ ใช้จิตไม่ใช้กำลัง” การฝึกมวยไท่เก๊ก ต้องผ่อนคลายทั้งร่างกาย ไม่ใช้กำลัง (ที่กระด้าง) แม้แต่น้อยนิด ซึ่งจะขัดขวางการเดินของเลือดลม ถ้าสามารถไม่ใช้กำลังได้เมื่อฝึกนานวันเข้าก็จะบรรลุถึความเบาคล่องสามารถหม ุนและเปลี่ยนแปลงได้ดั่งใจต้องการ มีคำถามว่าหากไม่ใช้กำลังไฉนพลัง(ภายใน)จะก่อเกิดได้ คำตอบคือ ในร่างกายของคนเรามีเส้นลมปราณอยู่ทั้งร่าง เฉกเช่นสายน้ำ สายน้ำไม่ถูกอุดตันน้ำย่อมไหลไปได้ ฉันนั้นเมื่อร่างกายกล้ามเนื้อแข็งเกร็งขึ้นย่อมไปบีบรัดเส้นลมปราณทำให้เลื อดลมไหวเวียนไม่คล่อง การเคลื่อนไหวย่อมไม่คล่องไปด้วย ถูกดึงแม้เพียงเส้นผมย่อมกระเทือนไปทั่วร่าง แต่หากว่าใช้จิตไม่ใช้กำลัง จิตถึงที่ใดลมปราณย่อมถึงที่นั้นด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเมื่อฝึกทุกวันลมปราณเคลื่อนไปทั่วร่างกายไม่มีหยุดไหล ฝึก นานวันเข้าย่อมบรรลุถึงกำลังภายในอันแท้จริง ดั่งคัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวไว้ว่า “อ่อนหยุ่นถึงที่สุด ภายหลัง(ย่อม)แข็งแกร่งถึงที่สุด” ผู้ที่ฝึกมวยไท่เก๊กจนบรรลุฝีมือแล้ว แขนคล้ายดังปุยนุ่นที่หุ้มเหล็กไว้ภายในและมีน้ำหนักมาก ผู้ที่ฝึกฝนมวยภายนอก เมื่อใช้กำลังย่อมปรากฎกำลังออกมาแต่ยามไม่ได้ใช้กำลังจะเบาลอยอย่างมาก สามารถเห็นกำลังนั้นเป็นกำลังที่อยู่ภายนอกอย่างชัดเจนไม่ใช้จิตแต่ใช้กำลัง ง่ายต่อการถูกชักนำให้เคลื่อน

7. เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย (ซ่างเซี่ยเซียงสุย) หมายถึง ส่วนบน(ของร่างกาย) และส่วนล่างเคลื่อนตามกัน คัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวว่า “รากนั้นอยู่ที่เท้า เคลื่อน(พลัง)จากขา ควบคุมด้วยเอว รูปลักษณ์ที่นิ้วมือจากเท้าไปยังขาสู่เอวทั้งหมดนี้ต้องสมบูรณ์ด้วยพลังเดีย ว(กัน) “ มือเคลื่อน , เอวเคลื่อน , ขาเคลื่อน สายตามองตามการเคลื่อนไหว เรียกว่า เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย มีส่วนใดไม่เคลื่อนย่อมสับสนไม่เป็นระเบียบ

8. ไหล่หงั่วเซียงฮะ (เน่ยไห้วเซียงเหอ) หมายถึงภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน มวยไท่เก๊กเน้นที่การฝึกจิตและสติ ดังคำกล่าว “สติคือแม่ทัพ ร่างกายคือทหาร”สามารถยกสติให้ตั้งอยู่ได้ การเคลื่อนไหวย่อมเบาคล่องเป็นธรรมชาติ ท่วงท่าไม่ทิ้ง(หลัก) เต็มว่างและแยกรวม(ไคฮะ) ไค (แยก) นั้นไม่เพียงแต่มือเท้าเปิดจิตก็ต้องเปิดด้วย ฮะ(รวม) ไม่เพียงมือเท้ารวม จิตก็ยังต้องรวมด้วย

9. เซียงเลี้ยงปุกต๋วง (เซียงเหลียนปู๋ต้วน) คือการต่อเนื่องไม่ขาดสาย วิชาของมวยภายนอก พลังนั้นเป็นพลังหลังฟ้าที่กระด้าง คือมีขึ้นมีหยุด มีขาดมีต่อ แรงเก่าหมดไปแล้วแรงใหม่ยังไม่ก่อเกิด ในขณะนั้นเป็นการง่ายอย่างมากต่อผู้อื่นที่จะเข้ากระทำ มวยไท่เก๊กใช้จิตไม่ใช้กำลัง ตั้งแต่ต้นจนจบ ต่อเนื่องไม่ขาดสายวนครบรอบก็ขึ้นต้นใหม่หมุนวนไม่รู้จบ คัมภีร์กล่าวว่า “ดุจดั่งแม่น้ำสายใหญ่ไหลไม่มีวันหมด “

10. ต๋งตังขิ่วแจ๋ (ต้งจงฉิวจิ้ง) คือความสงบในความเคลื่อนไหว วิชามวยภายนอก เวลาฝึกฝนเมื่อใช้พลังเต็มที่กระโดดโลดเต้นหลังฝึกฝนเสร็จย่อมเกิดอาการเหนื ่อยหอบ มวยไท่เก๊กสงบในความเคลื่อนไหว แม้ว่าเคลื่อนไหวแต่ว่าสงบ ดังนั้นการฝึกจึงยิ่งช้ายิ่งดี ช้าทำให้ลมหายใจยาวลึก ขี่จมสู่ตังซั้ง

Share