Category Archives: พุทธศาสนา

เสียงแห่งสติ – เสียงแห่งพระพุทธองค์

ในสมัยพุทธกาล เกิดภาวะทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง น้ำแล้ง ฝนขาด ประชาชนเดือดร้อนกันไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ในเมื่อฝนแล้ง น้ำขาด แต่คนจำเป็นต้องกินต้องใช้ ทรัพยากรน้อย แต่ความต้องการมาก จึงเกิดปัญหาตามมา

พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่ายของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ล้วนมีอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนา แต่ในภาวะฝนแล้ง น้ำแห้งขาดคราว ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการน้ำ จึงเกิดการแย่งน้ำเข้านา แย่งกันกันไปแย่งกันมา จึงเกิดเป็นความบาดหมาง จากความบาดหมาง กลายเป็นความแค้น และจากความแค้นก่อเป็น “สงครามแย่งน้ำทำนา” พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่าย จึงจัดทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถ ทัพพลเดินเท้า เข้ามาเผชิญหน้ากันอยู่ริมสองฝั่งน้ำ

ขณะที่สงครามแย่งน้ำกำลังจะเปิดฉากขึ้น มานั่นเอง พระพุทธองค์ก็ทรงทราบเรื่องแงและเสด็จดำเนินมาประทับท่ามกลางกองทัพของทั้ง สองฝ่าย

ทุกคนเมื่อเห็นพระพุทธองค์เสด็จมา จึงเกิดสติ หยุดยั้งอยู่ในที่ตั้งของตัวเอง รอดูสถานการณ์เฉพาะหน้าว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
นาที นั้นพระพุทธองค์จึงตรัสถาม

“พวกเธอกำลังจะทำอะไร”
“ทำสงครามแย่งน้ำพระพุทธเจ้าข้า”
“น้ำกับคน อย่างไหนมีค่ามากกว่ากัน”
“คนพระพุทธเจ้าข้า”
“หากคนมีค่ามากกว่าน้ำ ถ้าเช่นนั้นมันคุ้มกันหรือไม่ ที่พวกท่านกำลังจะฆ่าคนเพื่อแย่งน้ำ”
“ไม่คุ้มพระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าไม่คุ้มแล้วทำ ทำไม”

สิ้นพระสุรเสียงตรัสถาม ทุกอย่างเงียบกริบ มือที่ถืออาวุธค่อยๆ ลดลง พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่ายต่างแยกย้ายกันกลับที่ตั้ง สงครามระหว่างคนสายเลือดเดียวกัน จึงเป็นอันยุติ

เหตุการณ์ที่ทรงห้ามพระญาติทำสงครามคราว นั้น ศิลปินนำมาปั้นเป็น “พระปางห้ามพระญาติ” ให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้

ศักยภาพที่จะก่อสงครามก็อยู่ที่คน ศักยภาพที่จะหยุดสงครามก็อยู่ที่คน แต่บางครั้งที่คนเข้าสู่สงครามเพราะขาด “สติ”
พอขาดสติ ก็อาจเผลอเห็นดีเห็นงามไปว่า “ผลประโยชน์” มีค่ามากกว่าคน มากกว่าชีวิตมนุษย์ เดชะบุญที่ในสมัยพุทธกาล มีพระพุทธองค์คอยเป็น “สติของสังคม” แต่ในเมืองไทยในยามนี้ ใครจะเป็น “สติของสังคม”

ในยามนี้ เมืองไทยไม่มีพระพุทธเจ้าในแง่ที่เป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์
แต่ เรามีพระพุทธเจ้าในแง่ที่เป็นเนื้อหาสาระแห่งธรรม
เพราะเราเป็นเมืองพระ เราเป็นเมืองพุทธ เราเป็นเมืองแห่งสันติ
“สติ” นั่นแหละคือพระพุทธเจ้า
หากเราทุกคนมี “สติ” เราทุกคนก็คือ พระพุทธเจ้า
ดังนั้น เราทุกคนนี่แหละคือ พระพุทธเจ้า ที่จะร่วมกันเป็น “สติของสังคม” อย่างเสมอหน้ากัน
ขอให้เราคนไทยทุกคน ผู้เป็นดั่งพระพุทธเจ้าองค์น้อยๆ ที่ยังคงมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์จงลุกขึ้นมาส่งสัญญาณว่า “เราไม่ต้องการความ รุนแรง”

เสียงของเราซึ่งเป็นเสียงที่เปี่ยมสติ หนึ่งเสียง สองเสียง สามเสียง สี่เสียง ห้าเสียง หกเสียง….ร้อยเสียง…พัน เสียง…หมื่น…แสน…ล้าน….หก สิบล้านเสียง หากดังขึ้นมาอย่างพร้อมหน้ากัน ก็จะเป็น “เสียงแห่งสติ” ที่ดังกลบเสียงแห่งความโกลาหลวุ่นวายได้อย่างมีพลัง

ขอให้เราทุกคนผู้ เป็น “เสียงแห่งสติ”
ขอให้เราทุกคนผู้ เป็นดั่ง “เสียงแห่งพระพุทธองค์”
จงลุกขึ้นมาส่ง เสียงแห่งสติร่วมกัน ด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้
ขอให้เราจงร่วมกัน ส่งสัญญาณว่า “เราไม่ต้องการความรุนแรง”
เราไม่ต้องการให้ ใคร “ลุกขึ้นมาทำร้ายประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา”

…………………………………………….

อหิงสา ปรโม ธมฺโม การไม่ใช้ความ รุนแรง คือ ยอดแห่งธรรมะ
ขนฺ ตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขันติคือความอด ทน เป็นหลักการอันยอดเยี่ยม
สพฺ เพ สตฺตา ญาติกา โหนฺติ ไทยทั้งผองล้วนเป็น พี่น้องกัน

ดาวน์โหลดไฟล์เสียงเพื่อเผยแพร่(.Mp3 /10.6 MB)

ว.วชิร เมธี
ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
http://www.dhammatoday.com

Share

คู่มือมนุษย์ พุทธทาสภิกขุ – HANDBOOK FOR MANKIND BUDDHADASA BHIKKHU

HANDBOOK FOR MANKIND BUDDHADASA BHIKKHU

HANDBOOK FOR MANKIND BUDDHADASA BHIKKHU

Download คู่มือมนุษย์ พุทธทาสภิกขุ (ภาษาไทย)

http://www.dra.go.th/module/attach_media/sheet2120090714122128.pdf

Download HANDBOOK FOR MANKIND BUDDHADASA BHIKKHU (English Version)

http://www.dra.go.th/module/attach_media/sheet2320090714122239.pdf

Share

บันทึก จาก ธรรมบรรยาย วิธีชนะกรรม ว.วชิรเมธี

คนไทยนิยมมีลัทธิอยู่สามอย่าง ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่พระพุทธศาสนา
1. กรรมลิขิต คือ ลัทธิที่เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมาจากกรรมเก่า เช่น ศาสนาเชน ศาสนาพราหมณ์
2. เทวนิยม คือ ลัทธิที่เชื่อว่าเทพเจ้าบรรดาล เช่น จตุคามรามเทพ พระพรหม ฯลฯ
3. ลิทธิหวังผลดลบรรดาล หรือ ลัทธิบริโภคนิยม เช่น “สาธุ.. วันที่ 1 ขอเจ๋งๆ 7 ตัว ถ้าได้นะเจ้าพ่อ ขอสร้างโบสถ์ให้หนึ่งหลัง” โดยคนพวกนี้มักจะมีพิธีกรรมของเขาเอง กราบนั่นไหว้นี่ แก้บนแบบนั้นแบบนี้ สารพัด เมื่อสมหวังและไม่สมหวังการกระทำบูชาก็กลับหน้ามือเป็นหลังมือ

ลัทธิในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่มีเรื่องกรรมเก่าอย่างเดียว
แต่ทัศนะของกรรม คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา
และเจตนานั้น สามารถเป็นได้ทั้งปัจจุบันกรรม อดีตกรรม อนาคตกรรม
อะไรที่ไม่มีเจตนาจะทำ เรียกว่า กริยา

แล้วกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ?
กรรมเกิดขึ้นเพราะมีกิเลส
เกิดเพราะการเห็น ฟัง ได้กลิ่น สัมผัส ลิ้มรส (กิเลสภายนอก)
อยากได้ อยากมี อยากเป็น ชอบพอ เกลียด โกรธ (กิเลสภายใน) ฯลฯ
เมื่อมีกิเลสแล้วจึงเกิดการกระทำเพื่อตอบสนองกิเลสนั้นๆ
เมื่อทำแล้วจึงเกิดผลที่ตามมา จะดี จะชั่ว ก็แล้วแต่
ซึ่งกล่าวอย่างสั้นที่สุด คือ ขบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นที่กิเลสภายใน หรือใจเรา นั่นเอง

ในกายกรรม (การกระทำทางกาย) มโนกรรม (การกระทำทางใจ) วจีกรรม (การกระทำทางคำพูด)
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กรรมที่อันตรายที่สุดคือ มโนกรรม (กรรมทางใจ)
ท่านผู้รู้บอกไว้ว่า
เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดก่อให้เกิดการกระทำ
เธอจงระวังการกระทำ เพราะการกระทำก่อให้เกิดนิสัย
เธอจงระวังการนิสัย เพราะนิสัยก่อให้เกิดบุคคลิก
เธอจงระวังบุคลิก เพราะถึงที่สุดแล้วบุคลิกจะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมของเธอ
ซึ่งชะตากรรมที่ดีหรือไม่ดีของเธอนั้น เกิดจากความคิดของเธอนั่นเอง

การให้ผลของกรรม แท้ที่จริง ทุกครั้งที่เราคิดและเรากระทำผ่านทางกาย ไม่ว่าเป็น มือ เท้า กาย ปาก ลิ้น ตา หู ฯลฯ
ล้วนแสดงผลออกมาจากใจ(ความคิด) จึงเป็นข้อบ่งบอกว่า กรรมจึงส่งผลได้ในปัจจุบันทันที

กรรมให้ผลผ่าน 4 มิติ
1. ปัจจุบันขณะ คือ ในชีวิตนี้ พอใจคิด กายก็ทำ จึงให้ผล ณ ขณะนั้นเลย
2. ในชาติหน้า คือ ทุกอย่างที่ทำในชาตินี้ และไม่สามารถแสดงผลในชาตินี้ได้ ก็จะแสดงไปในชาติหน้า เช่น ทำบุญ ทำทาน
3. กรรมให้ผลในชาติต่อไป คือ กรรมที่เหลือจากชาติก่อนๆ ผสมกับชาติปัจจุบัน สะสมกันไปไม่จบสิ้น จนกว่าจะสิ้นสุดขบวนของกรรม
4. กรรมเลิกให้ผล (อโหสิกรรม) คือ กรรมที่ไม่มีโอกาสแสดงผล หรือผู้กระทำพ้นจากบ่วงกรรม (บรรลุนิพพาน)

วิธีชนะกรรม
ไม่ว่าจะสร้างพระพุทธรูปแปดหมื่นองค์ สร้างโบสถ์ ทำบุญ บูชานั่นนี่ทั้งหลายแหล่
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่วิธีทางพระพุทธศาสนา จะได้ผลหรือไม่ได้ผล ก็ต้องไปถามศาสดาของศาสนาอื่น
แต่ในทัศนะพุทธศาสนามีอยู่เพียงวิธีเดียวคือ การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หรือเจริญวิปัสนากรรมฐานนั่นเอง
ผู้ที่เจริญวิปัสนากรรมฐานได้ คุณภาพจิตจะเปลี่ยนเป็นสัมมาทิฐฐิ คือเห็นชอบตามธรรมนองคลองธรรม
พอจิตเปลี่ยนคุณภาพดีขึ้น เห็นอะไรผิด อะไรชอบ การกระทำก็จะเปลี่ยน ชีวิตก็จะเปลี่ยน
ผลของการกระทำก็จะเปลี่ยนตาม ทำให้เราเป็นบุคคลใหม่

ชีวิตจึงเป็นผลของความคิด
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสต
โลกหมุนไปเพราะความคิดและจิต
โลกนี้หมายถึงชีวิตเรา จะหมุนไปข้างดีหรือข้างชั่ว สูงหรือต่ำ นั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราคิด
เพราะฉะนั้น หากอยากเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น ให้เปลี่ยนแปลงความคิดเสียก่อน
วิธีคิดเปลี่ยน ชีวิตก็เปลี่ยน เราจึงสามารถเปลี่ยนแปลงกฏแห่งกรรมของเราเอง

สรุปสั้นๆ การชนะกรรม หรือทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น ไม่ใช่แก้ด้วยปัจจัยภายนอก หรือคนอื่น แต่ให้แก้จากวิธีคิดของเราเอง

..

.

ผู้ใดเคยประมาทมาเพลาก่อน แต่กลับย้อนไม่ประมาทได้ในภายหลัง
ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว ดังหนึ่งจันทราพ้นจากเมฆาอันมืดมิด
– พระองคุลิมาล –

Share