วิถีบูรพา

วันนี้หลังจากอ่านหนังสือโลกานุวัฒของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล จบ ก็รีบไปหาหนังสือมาเช่าต่อทันทีตอนพักเที่ยง เพื่อเตรียมอ่านฆ่าเวลาตอนนั่งเรียน DBMS ช่วงบ่าย ไม่งั้นง่วง และฟุ้งซ่านชิบเป๋ง

ห นังสือที่ผมยืมมา ชื่อ วิถีบูรพา ของ ดร.สุวินัย ภรณวลัย มีอยู่บทหนึ่งท่านกล่าวถึง สุดยอดเคล็ดวิชา “ดาบอยู่ที่ใจ” ของท่านทากุอันในคัมภีร์ “ฟุโดจิชินเมียวโรกุ” หรือ คัมภีร์พระอจลนาถ (คัมภีร์แห่งจิตพระผู้ไม่หวั่นไหว) ซึ่งหาอ่านได้ยากมากๆ ซึ่งคัมภีร์นี้ไม่เพียงแต่ประยุกต์ใช้ในวิชาดาบ แต่ยังให้แง่คิดและทางสว่าง เพื่อใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ด้วย ซึ่งบางทีมันทำให้ผมคิดว่าเหมือนเป็นคำตอบที่ผมเคยถามตัวเอง ผมจะขอสรุปสั้นๆ มาให้อ่านสองบทครับ

บทที่ 1 “ว่าด้วยใจที่ไม่ยึดติด”
อวิชชาและจิตที่ยึดติด คือ ที่มาแห่งทุกข์
อวิชชา คือ ความหลง คือ ความไม่รู้แจ้ง
จิตที่ยึดติด คือ การที่ไปจดจ่อไปอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ห ากท่านอยู่ต่อหน้าคู่ต่อสู้ที่กำลังฟันดาบ และท่าน “คิด” ที่จะยกดาบตั้งรับ นั่นคือ จิดท่านอยู่ที่ดาบ มันจะทำให้การเคลื่อนไหวไม่สมบูรณ์ และท่านจะเป็นฝ่ายที่ถูกฟัน แต่สิ่งที่ท่านทำคือควรจะดู แต่แค่จงดูเท่านั้น อย่าจดจ่อ แต่เคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับการทำงานของดาบ โดยไม่คิดฟันตอบ ไม่คิดแพ้ ไม่คิดชนะ ไม่คิดแบ่งเขาแบ่งเรา เพียงเมื่อท่านเห็นดาบ และไม่ลังเลว่าจะกระโจนเข้าใส่ ดาบมันจะทำหน้าที่ของมันเอง ต่อให้ท่านไม่มีดาบ ก็จะชิงดาบจากศัตรูได้ ในเซนจะเรียกว่า “การคว้าหอกปรปักษ์มาแทงปรปักษ์ที่มุ่งหมายจะมาทิ่งแทงเรา” (อ่านแล้วคล้ายๆพิชัยสงครามซุนวูที่ผมเคยบอกไว้ว่า “ชนะโดยไม่คิดที่จะเอาชนะ”)

เปรียบเทียบในชีวิตประจำวันของเรา ครั้งหนึ่งผมกินมะขาม ต้องการปาออกนอกหน้าต่างที่มีลูกกรงอยู่ เล็งอย่างดี แต่มันก็โดนลูกกรงแล้วเด้งกลับมา แต่เมื่อตั้งใจโยน แต่ไม่คิดไม่เล็ง(ไม่จดจ่อ) มันดันออกไปนอกหน้าต่างได้ หรือางครั้งไม่ตั้งใจทำอะไร แต่กลับออกมาสวยงาม เออ แปลกดี คิดว่าทุกคนคงเคยเจอ

บทที่สอง “เคลื่อนเหมือนไม่เคลื่อน”
ปัญญาที่ไม่หวั่นไหวของเหล่าพุทธะ
ไ ม่ใช่หมายถึงไม่เคลื่อนเหมือนหินนะครับ แต่หมายถึงไม่ถูกยึดติดโดยสิ่งใดนั่นเอง เช่น มีคนถือดาบจะฟันเราสิบคน ถ้าเรารับการโจมตีของแต่ละคนได้อย่างต่อเนื่องโดยใจของเราไม่ให้ใจของเราไปต ิดขัดกับใครๆ หรือที่ใดๆ หรือดาบเล่มใด เราย่อมต่อกรได้อย่างไม่มีปัยหา สรุปคือ ไม่ไปยึดติดกับใครสักคน มันจะไม่ติดขัด แต่หากยึดกับคนหนึ่ง แต่คงต้องเสียท่าให้กับคนที่สอง เพระาไม่เคลื่อนไหวไม่ได้อย่างอิสระอีกต่อไปแล้ว เพราะมีความจดจ่อนั่นเอง

เ ปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันของเรา ให้ท่านเพ่งเกสรดอกไม้ ท่านก็จะเห้นเกสรดอกไม้ จะเห็นทั้งดอกได้อย่างไร จะเห็นความสวยงามของดอกไม้ได้อย่างไร (เอาไว้อ้างอาจารย์เวลานั่งหลังห้องว่า ผมไม่อยากนั่งหน้าเพราะโฟกัสมันแคบ จดจ่อได้เป็นจุดๆ เลยต้องนั่งหลัง เห็นทั่วกระดานและทั่วห้องดี :D)

อ่านแล้วก็ได้อะไรเยอะดีครับ แห่งวิถีบูรพา

จาก http://ifew.exteen.com/20060109/entry 

Share

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.