เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อ 20 ธันวาคม 2516 ความตอนหนึ่งว่า

การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยวิธีการใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป

ต่อมา ในช่วงที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีก 5 ปีติดต่อกัน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540, 2541, 2542, 2543 และ 2545

เศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกร เพื่อแก้ไขให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่ง ไม่ได้มีข้อห้ามความร่ำรวย ความเจริญก้าวหน้าแต่อย่างใด ในทางกลับกันผู้ที่ปฏิบัติตาม จะทำให้มีความรอบคอบและมั่นคงในแนวทางการดำรงชีวิต รวมทั้งการประกอบอาชีพการงาน ซึ่งจะส่งผลให้มีความร่ำรวย และเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป


พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2541

forbesดังนั้น การที่มีบุคคลบางคนนำคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง มากล่าวให้กระทบต่อพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อมุ่งหวังให้คนที่ได้อ่านได้ฟัง เกิดความเข้าใจผิด โดยกล่าวว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวย (ตามที่นิตยสาร ฟอร์บส์ จัดอันดับไว้ ซึ่งผิดจากข้อเท็จจริง เพราะได้นำทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เข้าไปรวมกับ ทรัพย์สินส่วนพระองค์) ขัดกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึง เป็นคำกล่าวที่บิดเบือน และมีวัตถุประสงค์ในการให้ร้ายกับพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์อันใดกับประเทศชาติ และประชาชน แม้แต่น้อย

“เรารักในหลวง”

ที่มา http://www.chaoprayanews.com/2009/02/19/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4/

Share

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.